Loading ...




🌞3 เคล็ดลับในการเก็บเลนส์มือหมุน ให้อยู่กับเราอีก 50 ปี🌞

  • By Daddy N Keen
  • บทความทั่วไป
  • เมื่อวันที่ 10/12/2018

🌞3 เคล็ดลับในการเก็บเลนส์มือหมุน ให้อยู่กับเราอีก 50 ปี🌞

ว่ากันว่าเลนส์มือหมุน เก็บรักษาดี ๆ อยู่ได้นานถึง 100 ปี บางเลนส์อายุเกือบ 50 ปีแล้ว ทำยังไงให้เลนส์อยู่กับเราอีกนาน ๆ จนถึง 100 ปี วันนี้มีเคล็ดลับมาแชร์
.
(เคล็ดลับนี้ได้มาจาก supplier ที่เยอรมัน เก็บรักษาเลนส์กว่า 5,000 ตัว เค้าทำอย่างนี้ทุกตัวตอนที่ส่งมา เลยสอบถามไปให้หายสงสัย)
.
สรุปคือ มีอยู่ 3 เรื่องที่ต้องทำก่อนและหลังเก็บเลนส์
1. ปรับไปที่ระยะ Infinity ก่อนเก็บเลนส์
2.ปรับรูรับแสงให้กว้างสุด
3. หลังจากเก็บเลนส์มาซักระยะ ให้หมั่นเอาออกมาบำรุงรักษา
.
มาเริ่มที่อันแรก ทำไมต้องเก็บที่ระยะ Infinity
ทุก ๆ เลนส์มือหมุน จะมี Helicoid - เกลียว ซึ่งเป็นชิ้นส่วนหลักที่บริเวณแหวนโฟกัส ตัว Helicoid นี้ทำหน้าที่ปรับโฟกัส เหมือนฝาน้ำอัดลม สามารถบิดเข้า บิดออกได้ แต่ว่ามันจะทำงานได้สบูรณ์และลื่น มันต้องมีจารบีชนิดพิเศษสำหรับเลนส์ ถ้าจารบีนี้แห้งไป ส่งผลให้เลนส์มือหมุนฝืดได้ ถ้าฝืดมาก ๆ อาจทำให้ติดขัด หรือถ้าอาการหนักมาก มือหมุนอาจหมุนต่อไปไม่ได้ ตอนที่เลนส์อยู่ที่ระยะ Infinity เกลี่ยวของเลนส์จะโดนอากาศน้อยที่สุด ส่งผลให้รักษาความชุ่มชิ้นของจารบีให้พอเหมาะ เหมือนฝาน้ำอัดลมตอนปิด จะไม่โดนอากาศ 
.
เรื่องถัดไปที่ต้องทำคือ การปรับรูรับแสง
ก่อนเก็บเลนส์ ให้ปรับรูรับแสงกว้างสุด (ค่า f น้อยสุด) สาเหตุที่ต้องเก็บแบบนี้ เนื่องจาก เลนส์มือหมุนจะใช้สปริงเล็ก ๆ ตัวนึง เอาไว้คอยดึงรูรับแสงให้หุบ และ เปิด ตอนที่รูรับแสงหุบ สปริงจะถูกดึงยืดออกไป แต่พอเราปรับรูรับแสงให้เปิดออก สปริงจะหด ส่งผลให้รูรับแสงให้เปิดออก ถ้าสปริงถูกดึงนาน ๆ ก็จะส่งผลให้สปริงยืดถาวรได้ ทั้งนี้บางเลนส์อาจไม่ใช้สปริง เช่น เลนส์ที่มีแหวน Preset อีกชั้น พวกนี้ไม่ใช้สปริง ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องนี้
.
เรื่องสุดท้ายที่ควรทำ คือ หมั่นเอาเลนส์ออกมา exercise
อาจตั้งตารางเอาไว้ ไม่ต้องบ่อย เดือนละครั้ง สองสามเดือนครั้งก็ยังดี ตอนที่เอาเลนส์ออกมา ก็ดูแลทำความสะอาดไปในตัว หมุนปรับโฟกัสไปทั้งสองด้าน ช่วยกระจายจารบีไปทั่ว ๆ ปรับสมดุลให้จารบีกระจายทั่วถึง จากนั้นปรับรูรับแสงไปมา ให้สปริงทำงานยืดสุดหดสุด ช่วยลดอัตตราการเกิดสนิม และตอนที่เอาเลนส์ออกมา ปล่อยให้เลนส์โดนแสงบ้าง ช่วยป้องกันเชื้อราได้อีกทาง
.
แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ความชื้นต้องพอเหมาะ
จริง ๆ แล้ว ความชื้นเป็นสิ่งที่น่ากลัวทีสุดสำหรับเลนส์มือหมุน ทุกอย่างที่ว่ามา พอซ่อมได้ แต่ถ้ามือหมุนโดนรากินโค๊ตเลนส์มาก ๆ อันนี้ถึงกับต้องทิ้ง หรือ กลายเป็นที่ทับกระดาษราคาแพง (ส่วนมากทิ้งมากกว่าเพราะทำใจเอามาทำเป็นที่ทับกระดาษไม่ได้) สำหรับความชื้นที่พอเหมาะในการเก็บมือหมุน ควรเก็บที่ 50%RH ถ้าไม่มีเครื่องวัด แนะนำให้เก็บไว้ที่ห้องรับแขก หรือบริเวณที่อากาศถ่ายเท หรือบางคนเก็บไว้ในห้องนอนก็เป็นอีกทางเลือกที่ดี เพราะตอนเปิดแอร์ ความชื้นจะลดลงเหลือ 35-40% แต่อย่าให้ต่ำกว่า 35% นาน ๆ อันนี้ก็มีผลเสียเช่นกัน ยางบริเวณแหวนโฟกัสอาจกรอบ และ น้ำมันจารบีในเลนส์อาจระเหยได้ง่ายขึ้น 
.
พอพูดถึงเรื่องความชื้น หลายคนยังคงสงสัย แล้วความชื้นทำให้เกิดราได้ยังไง และมันมีปัจจัยอะไรบ้าง จริง ๆ แล้ว การเกิดราในเลนส์มือหมุน ไม่ได้เกิดปุ๊บปั๊บ ไม่ใช่แค่สองสามวัน ต้องใช้เวลาฟักตัว 3 - 10 อาทิตย์ และต้องมีปัจจัย 3 อย่างคือ
1. ความชื้นสะสมเกิน 60% นานติดต่อกัน
2. ความมืด ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เชื้อราเจริญเติบโต
3. ละอองเชื้อรา ซึ่งมีอยู่ทั่วไป
ต้องมี 3 อย่างนี้พร้อมกันถึงมีโอกาสเกิดเชื้อราที่เลนส์ได้ สำหรับข้อ 3 อาจอยู่นอนเหนือการควบคุม สำหรับความมืด ก็อาจควบคุมยาก เพราะตอนเกํบ ก็อาจมืดบ้าง สว่างบ้าง แต่เรื่องความชื้นเป็นปัจจัยที่คุมได้ง่ายที่สุด อาจต้องมีอุปกรณ์เสริมบ้าง เช่นตู้กันชื้น หรือ silica gel (ซองกันชื้น)
.
สรุปสั้นอีกครั้ง เก็บรักษามือหมุน ควรปรับที่ระยะ Infinity + ปรับรูรับแสงกว้างสุด + หมั่นเอาเลนส์ออกมาใช้ และต้องเก็บที่ความชื้นไม่เกิน 50%
.
ขอบพระคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้ ไว้คราวหน้า จะเอาเคล็ดลับการทำความสะอาดเลนส์มาฝาก
.
#LensSeedStory
อ่านแล้วดีต่อใจแชร์ได้เลยครับ
.
บทความอื่น ๆ ที่ https://goo.gl/NW899p

เก็บรักษามือหมุน ควรปรับที่ระยะ Infinity + ปรับรูรับแสงกว้างสุด + หมั่นเอาเลนส์ออกมาใช้ และต้องเก็บที่ความชื้นไม่เกิน 50%

#ManualFocus


Comment

Web Users 13/10/2024

ยังไม่มี Comment สำหรับการรีวิวเลนส์มือหมุนนี้ คุณสามารถเขียน Comment ได้ในกล่องข้่อความด้านล่าง...


Post a Comment

ชื่อสมาชิกบนเว็ป / Name on Web:
Guest

Your comment was successfully posted!

เข้าสู่ระบบ


หรือเข้าสู่ระบบด้วย Email และ รหัสผ่าน

Forget your Password ?

กดที่นี่ เมื่อต้องการเปลี่ยนรหัสผ่าน



Recent Lens Review

Photo Stream